ผศ.ดร.ณัธคพัชฬ รัตนพิทูลย์
ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โรคหอยคัน (Cercarial Dermatitis)
เคยลงเล่นน้ำน้ำธรรมชาติ หลังจากนั้นไม่นานก็คันตามผิวหนังบริเวณที่สัมผัสน้ำ ก็เกาๆยิ่งเกาก็ยิ่งคัน ยิ่งคันก็ยิ่งเกาๆ ยิ่งเกาก็ยิ่งมัน ยิ้งมันก็ยิ่งเกา ก็เลยเกาๆๆๆ แล้วเราเป็นอะไร
อาการคันๆมันๆเหล่านี้เป็นลักษณะของโรคผิวหนังที่เกิดจากพยาธิที่อยู่ในน้ำ ได้ชอนไชเข้าสู่ผิวหนัง พยาธิเหล่านี้เป็นตัวอ่อนระยะเซอคาเรียของพยาธิใบไม้เลือดสัตว์ เนื่องจากมีโฮสต์จำเพาะเป็นสัตว์ คนเราไม่ใช่โฮสต์จำเพาะ พยาธิไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็มักจะตายหลังจากไชไประยะเวลาหนึ่งบริเวคผิวหนัง เวลาไชไปตามผิวหนังก็กระตุ้นให้เกิดอาการคัน จากปฏิกิริยาการตอบสนองของโฮสต์ จากอาการคันเหล่านี้ และจากหอยที่มีพยาธิใบไม้เลือด เลยเรียกหอยคัน โรคที่เกิดขึ้นจึงเรียกโรคพยาธิหอยคัน หรือโรคน้ำคัน
เรามาทำความรู้จักพยาธิใบไม้เลือดให้มากยิ่งขึ้นกัน
Animal Schistosome
พยาธิใบไม้เลือด ก่อให้เกิดโรคน้ำคันหรือโรคหอยคัน (Cercarial dermatitis หรือ Swimmer’s itch) คันที่บริเวณผิวหนังอันเกิดจากตัวอ่อนพยาธิระยะเซอร์คาเรีย (Cercaria) ของพยาธิใบไม้เลือดของสัตว์ เช่น วัว ควาย อาทิ Schistosoma spindale หรือ S. incognitum เป็นต้น ไชเข้าสู่ผิวหนัง เซอร์คาเรียของพยาธิของสัตว์จะไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในคนได้ พยาธิใบไม้เลือดที่พบได้บ่อยในประเทศไทย มีหอย Indoplanorbis exustus (หอยคัน) ตัวแบนคล้ายเลขหนึ่ง (เป็นำโฮสท์ตัวกลาง
การติดต่อ
เซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้เลือดของสัตว์ ไชเข้าทางผิวหนัง กลุ่มเสี่ยงคือ ชาวนา ผู้ที่ต้องสัมผัสกับแหล่งน้ำอยู่บ่อย ๆ เช่น ผู้ที่มีอาชีพงมหอย เก็บผักบุ้ง หรือเด็ก ๆ ที่ชอบว่ายน้ำตามแหล่งน้ำต่าง ๆ
อาการ
มักจะมีอาการคันตามตัว ปวดแสบปวดร้อน ต่อมาจะมีตุ่มขึ้นคล้าย ๆ กับยุงกัด ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการแพ้มากเป็นพิเศษ ทำให้เกิดตุ่มจำนวนมาก ยิ่งทำให้เกิดอาการคันมากยิ่งขึ้น
การวินิจฉัย
– ประวัติการสัมผัสน้ำ และมีผื่นคันที่ผิวหนัง ลักษณะเป็นจุดแดง
– พบพยาธิตัวอ่อนระยะเซอร์คาเรียจากการตรวจหอยตามแหล่งที้ลงสัมผัส
การรักษา
รักษาตามอาการ แก้อาการคันโดยทา Calamine กรณีมีอาการแพ้ ให้ยาแก้แพ้พวก Chlorpheniramine แต่ถ้าหสกผู้ป่วยมีอสการแพ้มาก อาจจะให้ยากดภูมิคุ้มกันพวก steroid เช่น Dexamethazone แต่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำจากเภสัชกรและแพทย์
การป้องกัน
– ทาวาสลินตามตัวก่อนลงสู่แหล่งน้ำแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้พยาธิหอยคันมาเกาะที่ผิวหนัง
– อาบน้ำให้สะอาดและใช้ผ้าเช็ดตัวแรงๆเมื่อขึ้นจากแหล่งน้ำเพื่อทำให้พยาธิหอยคันที่ติดอยู่ตามผิวหนังหลุดออกไป
เอกสารอ้างอิง
– Marjorie Hecth. Cercarial Dermatitis (Swimmer’s Itch). Access: https://www.healthline.com/health/cercarial-dermatitis
– Center for Disease Control and Prevention, USA. Cercarial dermatitis. Access: https://www.cdc.gov/parasites/swimmersitch/biology.html
– ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. พยาธิใบไม้เลือด. ตำราปรสิตวิทยาทางการพยาบาลและสาธารณสุข. 2562, 410 หน้า